วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กำเนิด ดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล


Jupiter ดาวพฤหัสบดี เป็นที่รู้กันตั้งแต่เราเรียนวิทยาศาสตร์ กันตั้งแต่เด็กแล้วว่า มันคือดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล ของ เรา และนักวิทยาศาสตร์ก็มีความเชื่อว่า ขนาดอันใหญ่โตของมันนั้นเกิดจากการที่มัน "เขมือบ" ดาวดวงอื่นเข้าไป

รายละเอียดเกี่ยวกับ ดาวพฤหัสบดี

  • ดาว พฤหัสบดี เป็น ดาวเคราะห์แก๊ส ขนาดใหญ่ แต่มีแกนกลาง(Core)ที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ ขนาดของดาวพฤหัสบดีเอง และในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ยังพบว่าเป็นก๊าซที่มีความหนาแน่นสูงมาก
  • เหล่านักวิทยาศาสตร์ ต่างต้องการไขปริศนาดังกล่าวว่า ทำไม ดาวพฤหัสบดี จึงมีรูปแบบของดาว ที่แตกต่างไปจากโลกอย่างสิ้นเชิง เช่นนี้
  • นัก วิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง(Peking University) ได้เสนอแบบจำลองรูปแบบการกำเนิดดาวพฤหัสบดี อย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้นั้นเกิดจากการพุ่งชน ของ ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่กว่าโลก 10 เท่า กับดาวพฤหัสบดีในยุคแรก
  • แบบ จำลองแสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ที่มีโครงสร้างเป็นหิน ได้พุ่งผ่านชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ดังกล่าวถูกบีบอัดจนลีบแบน จากชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี และพุ่งเข้าสู่แกนของดาวพฤหัสบดี
  • ผลจาการพุ่งชนทำให้เกิดการ ระเบิดอย่างรุนแรง ทำให้ธาตุหนัก เช่น เหล็ก ในแกนกลางของดาวพฤหัสบดี เกิดหลอมละลาย และระเหยเป็นไอ ผสม กับ ก๊าซไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
  • จากการพุ่งชนครั้งใหญ่ดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแบบจำลองนี้ สามารถอธิบายได้ว่าทำไม ดาวพฤหัสบดีจึงมีแกนกลางขนาดเล็ก อันเป็นผลจากการที่ธาตุในแกนกลางได้กลายเป็นไอ สู่ ชั้นบรรยากาศ และนั้นเป็นผลให้ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี มีความหนาแน่นสูงมาก
  • โลก ของเรา และดาวจันทร์ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการพุ่งชนกันครั้งใหญ่ ระหว่างดาวเคาระห์ขนาดเท่าดาวอังคาร และดาวศุกร์ การพุ่งชนก่อให้เกิดการระเบิด และอุณหภูมิสูงถึง 7000 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเพียงแค่ 24 ชั่วโมง เศษซากจากการพุ่งชนก็หลอมรวมกันเป็น โลก ส่วนเศษซากที่กระเด็นออกมาก็หลอมรวมกันเป็น ดวงจันทร์ ดังที่เห็นทุกวันนี้



ข้อมูลอ้างอิง กำเนิด ดาวพฤหัสบดี
 http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-1302234/Jupiter-swallowed-planet-times-size-Earth-massive-collision.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น