วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การทดลอง ทางวิทยาศาสตร์ ในสภาพเสมือนไร้แรงดึงดูด (Microgravity)

การทดลอง ทางวิทยาศาสตร์ ในสภาพเสมือนไร้แรงดึงดูด

Microgravity คือ สภาพที่แรงดึงดูดมีค่าน้อยมาก หรือในสภาพที่แรงดึงดูดไม่มีผลต่อวัตถุ การที่จะเกิดสภาพเสมือนไร้แรงดึงดูด จะเกิดได้จาก 3 สาเหตุ
  1. เมื่อออกเราออกห่างจากแห่งแรงดึงดูด ตัวอย่าง มนุษย์อวกาศอยู่นอกโลก แห่งแรงดึงดูดคือโลก
  2. เมื่อตกลงจากที่สูงวัตถุจะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก
  3. เมื่อวัตถุใดเคลื่อนที่ด้วยความเร็วกว่า 11.2 กิโลเมตร/ชั่วโมง วัตถุนั้นจะเร็วเพียงพอที่จะหลุดจากแรงดึงดูดของโลก หลุดลอยสู่อวกาศ
เมื่ออยู่ในสภาพ Microgravity จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

เปลว เทียน ที่อยู่ในสภาพ Microgravity จะมีขนาด รูปร่าง อุณหภูมิ และโครงสร้างของเปลวเทียน แตกต่างจากเมื่อเผาไหม้บนพื้นโลกโดยสิ้นเชิง ดังต่อไปนี้
  • รูปทรง เปลวเทียนจะมีลักษณะคล้ายทรงกลม มีความกว้างออกด้านข้างมากกว่าเปลวเทียนปกติ เนื่องจากในสภาพ Microgravity เปลวไฟจะเกิดจากการเผาไหม้ที่ไส้เทียนเพียงอย่างเดียว แต่ในสภาพปกติการเผาไหม้จะมีไอระเหยจะไขเทียนที่เบากว่าอากาศ ที่ลอยตัวขึ้นช่วยเสริมเปลวไฟให้มีรูปร่งเรียวยาว wowboom
  • อุณหภูมิ เปลวไฟจะมีอุณภูมิต่ำกว่า เปลวไฟปกติเนื่องจาก อัตราการการเผาไหม้ของน้ำตาเทียนจะเกิดขึ้นต่ำกว่าปกติ

(ซ้าย)เปลวเทียนในสภาพปกติบนพื้นโลก (ขวา)เปลวเทียนในสภาพ Microgravity

(ซ้าย)น้ำ ที่ต้มเดือดในสภาพแรงดึงดูดปกติ น้ำที่ถึงจุดเดือดจะกลายเป็นไอลอยตัวขึ้นด้านบน เนื่องจากไอน้ำมีน้ำหนักเบาจึงลอยขึ้นด้านบน และน้ำที่หนักกว่าจะจมตัวลงด้านล่าง
(ขวา)น้ำ ที่ต้มเดือดในสภาพ Microgravity เมื่อน้ำกลายเป็นไอ จะสะสมอยู่ด้านล่างเนื่องจากไม่มีแรงดึงดูดจึงไม่มีการไหล เนื่องจากความต่างของน้ำหนักระหว่าง น้ำ กับ ไอน้ำ


ภาพการก่อตัวของผลึกในสภาพ Microgravity ผลึกจะก่อตัวใหญ่กว่าบนพื้นโลกถึง 30 เท่า


การทดลองสภาพไร้น้ำหนัก ขณะยังอยู่ในโลก โดยใช้เครื่องบิน Airbus บินในวิถีโปรเจ็คไตล์ เมื่อขึ้มถึงจุดสุดยอด แล้วทิ้งหักหัวลง จะทำให้เกิดสภาพ Microgravity


การทดลอง เกี่ยวกับน้ำเมื่ออยู่ในสภาพ Microgravity ทำให้แรงดันบภายนอกจากทุกทิศทางเท่ากัน เมื่อประกอบกับแรงดันน้ำทุกทิศทางเท่ากัน และแรงตึงผิวของน้ำแรงช่วยให้น้ำสามารถคงรูปอยู่ในรูปทรงกลม

ข้อมูลอ้างอิง เปลวเทียนในอวกาศ ในสภาพ Microgravity

  • http://en.wikipedia.org/wiki/Phenomenon
  • http://science.howstuffworks.com/space-station5.htm
  • http://science.nasa.gov/headlines/y2000/ast12may_1.htm
  • http://www.busoc.be/en/research/microgravity/fluidphysics.htm อ้างอิงในส่วนต้มน้ำในอวกาศ
  • http://www.mainsgate.com/spacebio/Sptopics/biotech_intro.html อ้างอิงในส่วนการเกิดคริสตัล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น