วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มหัศจรรย์จากน้ำยางพารา

มหัศจรรย์จากน้ำยางพารา

รศ.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล ผู้ค้นพบสารเบต้ากลูแคนในน้ำยางพารา
มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์พบความมหัศจรรย์จากน้ำยางพารา อีกครั้ง สารเบต้ากลูแคนกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ชะลอเหี่ยวช่วยให้ผิวกระชับอย่างเหลือเชื่อ
มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์พบความมหัศจรรย์จากน้ำยางพาราอีก ครั้ง โดยพบมีสารเบต้ากลูแคนกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ชะลอเหี่ยวช่วยให้ผิวตึงกระชับอย่างเหลือเชื่อ  TCELS หนุนเต็มที่หลังพบมูลค่าตลาดแอนตี้เอจจิ้งทั่วโลกสูงถึงปีละ 2.3 ล้านล้านบาท
หลังประสบความสำเร็จจากการส่งครีมหน้าขาวจากน้ำยางพาราสุด ยอดนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ออกสู่ตลาด มีกระแสตอบรับจากประชาชนอย่างท่วมท้น ล่าสุดทีมนักวิจัยจาก คณะวิทยาศาสตร์นำโดยรศ.ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล เตรียมผลักดันผลิตภัณฑ์ชะลอวัย ออกสู่ตลาดอีกครั้ง โดยยึดคอนเซ็ปต์เดิมคือใช้สารสกัดจากน้ำยางพาราที่มีสารซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดนท์สูง สามารถชะลอความชราอย่างได้ผล

ดร.รพีพรรณ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวจากซีรั่มน้ำยางพารา หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามครีมหน้าขาวจากน้ำยางพารานั้น ในกระบวนการของการผลิตสารสกัดดังกล่าว มีส่วนของชีวเคมีที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกอย่างน้อย 3 ชนิดคือ เอนไซม์กลุ่ม ไฮโดรเลส (Hydrolases) กลูเคเนส (Glucanase) และ ไคติเนส (Chitinase) ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายผนังของยีสต์ ทำให้เกิดสารใหม่เรียกว่าเบต้ากลูแคนที่มีทั้งโมเลกุลใหญ่และเล็ก มีคุณสมบัติกระตุ้นการทำงานของเซลล์ให้ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย

โดยโมเลกุลใหญ่นั้น เมื่อรับประทานเข้าไปสามารถย่อยสลายได้โดยน้ำย่อยในร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงดูอ่อนกว่าวัย ส่วนโมเลกุลเล็ก มีการนำไปใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นเซลล์ของผิวหนัง เมื่อนำไปใส่ในเครื่องสำอางชั้นสูง จะเกิดผลในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันผิวหนังและกระตุ้นการสร้างใยคอลลาเจนใน เซลล์ช่วยให้ผิวดูตึงกระชับ

นายจรัญ จักรวาลชัยศรี รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) กล่าวว่า จากข้อมูลทางการตลาดพบว่า ในปี 2007 ตลาดแอนตี้เอจจิ้งทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวนั้นมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 65.7 พันล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท

ซึ่ง TCELS ได้เคยให้การสนับสนุนโครงการผลิตครีมหน้าขาวจากน้ำยางพาราของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์มาแล้ว และได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดีเรื่องประสิทธิภาพของครีม จึงมีความเห็นว่าควรจะสนับสนุนโครงการระยะสองต่อไป โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำคำของบประมาณ จากสำนักงบประมาณ เพื่อขอสนับสนุนการวิจัย
คาดว่าจะใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น 10 ล้านบาท ต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว เพื่อขยายปริมาณการผลิตสู่การจำหน่ายต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น